การควบคุมอาวุธ
มาตรการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือที่ได้ดำเนินการโดยผ่านทางข้อตกลงระหว่างรัฐ เพื่อลดอันตรายของสงครามโดยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้นว่า การลดกำลังรบบางส่วน การจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับความมั่นคงเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามนิวเคลียร์ และการสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในระดับกองกำลัง มาตรการควบคุมอาวุธนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อจำกัดการแข่งขันอาวุธในบางส่วนเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ห้ามมิให้มีอาวุธบางประเภท จำกัดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ หรือสร้างเขตปลอดทหารในบางพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
ความสำคัญ ถึงแม้ว่าศัพท์ว่า การควบคุมอาวุธและการลดกำลังรบนี้ ในบางครั้งจะมีการใช้แทนกันได้ก็จริง แต่การควบคุมอาวุธก็มีข้อแตกต่างจากการลดกำลังรบ ตรงจุดที่การควบคุมอาวุธมีจุดประสงค์หลัก คือ เพื่อสร้างเสถียรภาพยิ่งกว่าเพื่อจะไปลดหรือจำกัดอาวุธ มาตรการควบคุมอาวุธที่ได้รับมาใช้เพื่อจำกัดการแข่งขันอาวุธในยุคปัจจุบันนี้มีดังนี้ คือ (1) สนธิสัญญาแอนตาร์กติกปี ค.ศ. 1959 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทวีปแอนตาร์กติกาเป็นเขตปลอดทหาร (2) สนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์บางส่วนปี ค.ศ. 1963 มีจุดมุ่งหมายเพื่อห้ามการทดลองนิวเคลียร์ทุกพื้นที่ยกเว้นการทดลองนิวเคลียร์ที่ใต้ดิน (3) สนธิสัญญาอวกาศปี ค.ศ. 1967 มีจุดมุ่งหมายเพื่อห้ามนำอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นไปติดตั้งอยู่ในอวกาศ และในวัตถุในฟากฟ้าใด ๆ (4) มีการติดตั้งสายคมนาคมเชื่อมโยงกันโดยตรง (ฮอตไลน์) เมื่อทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1960 ระหว่างกรุงมอสโกกับกรุงวอชิงตัน กับกรุงปารีส และกับกรุงลอนดอน (5) สนธิสัญญาห้ามนำอาวุธเข้าไปในละตินอเมริกา (สนธิสัญญาทลาตีลอลโก) ซึ่งสร้างเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นที่ละตินอเมริกา (เอ็นดับเบิลยูเอฟเซช) (6) สนธิสัญญาห้ามแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ปี ค.ศ. 1967 ซึ่งเป็นการหาทางจำกัดสมาชิกสมาคมนิวเคลียร์ให้มีจำนวนคงเดิม (7) สนธิสัญญาพื้นท้องทะเลปี ค.ศ. 1970 ซึ่งห้ามติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ในพื้นท้องทะเลนอกน่านน้ำอาณาเขตสิบสองไมล์ โดยรัฐผู้ลงนามในสนธิสัญญานี้ และ (8) สนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ที่เรียกกันว่า ซอลท์วัน และซอลท์ทู ซึ่งเป็นความพยายามของทั้งของสหภาพโซเวียตและของสหรัฐอเมริกาที่จะงดการแข่งขันทางด้านอาวุธ
English-Thai Dictionary of Arms Control and Disarmament
พจนานุกรมศัพท์การควบคุมอาวุธและการลดกำลังรบ:รวบรวมและเรียบเรียงโดย พลเรือตรี รศ.ทองใบ ธีรานันทางกูร
Monday, October 19, 2009
Arms Control : Antarctic Treaty of 1959
การควบคุมอาวุธ : สนธิสัญญาแอนตาร์กติกปี ค.ศ. 1959
ข้อตกลงห้ามการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางทหารในทวีปแอนตาร์กติกา และป้องกันมิให้ทวีปแห่งนี้ตกไปอยู่ในความขัดแย้งในสงครามเย็น สนธิสัญญาแอนตาร์กติกนี้ ได้ลงนามกันเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1959 และมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1961 คือ หลังจากที่ชาติผู้ลงนามในสนธิสัญญานี้จำนวน 12 ชาติได้ให้สัตยาบันแล้ว คือ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบลเยียม บริเตนใหญ่ (อังกฤษ) ชิลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ แอฟริกาใต้ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา นับแต่นั้นมา บราซิล จีน อินเดีย อุรุกวัย โปแลนด์ และเยอรมนีตะวันตก ก็ได้เป็นภาคีสมบูรณ์ของสนธิสัญญานี้ ส่วนอีก 16 ชาติที่มิได้ทำการวิจัยอยู่ในพื้นที่นี้ ได้เป็นชาติภาคีประเภทที่ไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียง บทบัญญัติของสนธิสัญญาแอนตาร์กติกที่สำคัญ ๆ มีดังนี้ (1) ห้ามทำกิจกรรมทางด้านการทหารทั้งปวงในทวีปแอนตาร์กติกา โดยให้แต่ละภาคีผู้ร่วมลงนามมีสิทธิที่จะตรวจสอบทางอากาศได้ (2) ห้ามทดลองนิวเคลียร์ หรือนำกากปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไปทิ้งในทวีปแห่งนี้ (3) ให้แต่ละภาคีมีสิทธิที่จะตรวจสอบอุปกรณ์การติดตั้งของกันและกันเพื่อป้องกันการละเมิดบทบัญญัติเหล่านี้ (4) ไม่รับรองการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนตามที่ได้อ้างกันมาแต่เดิมแล้วนั้น กับได้ตกลงกันว่าจะไม่มีการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในทวีปนี้ขึ้นมาใหม่อีก และ (5) ให้มีความรับผิดชอบที่จะแก้ไขข้อพิพาทระหว่างกันโดยสันติ กับให้ความร่วมมือกันในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในทวีปแห่งนี้ บทบัญญัติเหล่านี้ให้ใช้กับดินแดนทั้งปวงที่อยู่ใต้เส้นรุ้ง 60 องศาใต้ และให้สนธิสัญญาฉบับนี้มีการพิจารณาทบทวนหลังจากที่ผ่านพ้นไปแล้ว 30 ปี
ความสำคัญ สนธิสัญญาแอนตาร์กติกนี้ เป็นข้อตกลงลดกำลังรบครั้งแรกที่ตกลงกันได้ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตในระหว่างยุคสงครามเย็น และก็ได้มีการดำเนินการตรวจสอบโดยคณะผู้สังเกตการณ์ระดับชาติภายใต้บทบัญญัติที่ได้ให้อำนาจนี้ไว้ในสนธิสัญญา และก็ไม่มีการละเมิดใด ๆ เกิดขึ้นมาเลย สนธิสัญญาแอนตาร์กติกนี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของการลดกำลังรบในภาคพื้นดินเป็นครั้งแรก แต่ว่าความพยายามที่จะใช้สูตรสำเร็จของสนธิสัญญาฉบับนี้กับการเจรจาทำข้อตกลงเพื่อสร้างเขตปลอดทหารเพิ่มเติมระหว่างมหาอำนาจทั้งสองนี้ ในมหาสมุทรอาร์กติกและในภูมิภาคอื่น ๆ กลับมีอันล้มเหลว อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีการลงนามกันเมื่อ ค.ศ. 1967 และนับตั้งแต่นั้นมารัฐต่าง ๆ ในละตินอเมริกาเกือบทุกรัฐ ก็ได้ให้สัตยาบัน (สนธิสัญญาทลาตีลอลโก) ผู้ที่ให้การสนับสนุนการลดกำลังรบ ได้ตั้งความหวังไว้ว่าบทบัญญัติของสนธิสัญญาแอนตาร์กติกที่ให้คณะผู้ตรวจสอบในระดับชาติสามารถตรวจสอบได้นี้จะช่วยกำจัดภาวะชะงักงัน (หรือผ่าทางตัน) ในข้อเสนอของสหรัฐอเมริกาและของสหภาพโซเวียตที่ให้มีการตรวจสอบในระดับระหว่างประเทศ ในการเจรจาลดกำลังรบทั่วไปและอย่างสมบูรณ์แบบ กับในด้านการควบคุมอาวุธในรูปแบบจำกัดนั้นด้วย
ข้อตกลงห้ามการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางทหารในทวีปแอนตาร์กติกา และป้องกันมิให้ทวีปแห่งนี้ตกไปอยู่ในความขัดแย้งในสงครามเย็น สนธิสัญญาแอนตาร์กติกนี้ ได้ลงนามกันเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1959 และมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1961 คือ หลังจากที่ชาติผู้ลงนามในสนธิสัญญานี้จำนวน 12 ชาติได้ให้สัตยาบันแล้ว คือ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบลเยียม บริเตนใหญ่ (อังกฤษ) ชิลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ แอฟริกาใต้ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา นับแต่นั้นมา บราซิล จีน อินเดีย อุรุกวัย โปแลนด์ และเยอรมนีตะวันตก ก็ได้เป็นภาคีสมบูรณ์ของสนธิสัญญานี้ ส่วนอีก 16 ชาติที่มิได้ทำการวิจัยอยู่ในพื้นที่นี้ ได้เป็นชาติภาคีประเภทที่ไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียง บทบัญญัติของสนธิสัญญาแอนตาร์กติกที่สำคัญ ๆ มีดังนี้ (1) ห้ามทำกิจกรรมทางด้านการทหารทั้งปวงในทวีปแอนตาร์กติกา โดยให้แต่ละภาคีผู้ร่วมลงนามมีสิทธิที่จะตรวจสอบทางอากาศได้ (2) ห้ามทดลองนิวเคลียร์ หรือนำกากปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไปทิ้งในทวีปแห่งนี้ (3) ให้แต่ละภาคีมีสิทธิที่จะตรวจสอบอุปกรณ์การติดตั้งของกันและกันเพื่อป้องกันการละเมิดบทบัญญัติเหล่านี้ (4) ไม่รับรองการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนตามที่ได้อ้างกันมาแต่เดิมแล้วนั้น กับได้ตกลงกันว่าจะไม่มีการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในทวีปนี้ขึ้นมาใหม่อีก และ (5) ให้มีความรับผิดชอบที่จะแก้ไขข้อพิพาทระหว่างกันโดยสันติ กับให้ความร่วมมือกันในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในทวีปแห่งนี้ บทบัญญัติเหล่านี้ให้ใช้กับดินแดนทั้งปวงที่อยู่ใต้เส้นรุ้ง 60 องศาใต้ และให้สนธิสัญญาฉบับนี้มีการพิจารณาทบทวนหลังจากที่ผ่านพ้นไปแล้ว 30 ปี
ความสำคัญ สนธิสัญญาแอนตาร์กติกนี้ เป็นข้อตกลงลดกำลังรบครั้งแรกที่ตกลงกันได้ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตในระหว่างยุคสงครามเย็น และก็ได้มีการดำเนินการตรวจสอบโดยคณะผู้สังเกตการณ์ระดับชาติภายใต้บทบัญญัติที่ได้ให้อำนาจนี้ไว้ในสนธิสัญญา และก็ไม่มีการละเมิดใด ๆ เกิดขึ้นมาเลย สนธิสัญญาแอนตาร์กติกนี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของการลดกำลังรบในภาคพื้นดินเป็นครั้งแรก แต่ว่าความพยายามที่จะใช้สูตรสำเร็จของสนธิสัญญาฉบับนี้กับการเจรจาทำข้อตกลงเพื่อสร้างเขตปลอดทหารเพิ่มเติมระหว่างมหาอำนาจทั้งสองนี้ ในมหาสมุทรอาร์กติกและในภูมิภาคอื่น ๆ กลับมีอันล้มเหลว อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีการลงนามกันเมื่อ ค.ศ. 1967 และนับตั้งแต่นั้นมารัฐต่าง ๆ ในละตินอเมริกาเกือบทุกรัฐ ก็ได้ให้สัตยาบัน (สนธิสัญญาทลาตีลอลโก) ผู้ที่ให้การสนับสนุนการลดกำลังรบ ได้ตั้งความหวังไว้ว่าบทบัญญัติของสนธิสัญญาแอนตาร์กติกที่ให้คณะผู้ตรวจสอบในระดับชาติสามารถตรวจสอบได้นี้จะช่วยกำจัดภาวะชะงักงัน (หรือผ่าทางตัน) ในข้อเสนอของสหรัฐอเมริกาและของสหภาพโซเวียตที่ให้มีการตรวจสอบในระดับระหว่างประเทศ ในการเจรจาลดกำลังรบทั่วไปและอย่างสมบูรณ์แบบ กับในด้านการควบคุมอาวุธในรูปแบบจำกัดนั้นด้วย
Arms Control : Chemical/Biological Weapons (CBW)
การควบคุมอาวุธ : อาวุธเคมี/อาวุธชีวภาพ (ซีบีดับเบิลยู)
อาวุธมหาประลัย ที่ใช้สื่อนำที่เป็นพิษ หรือเชื้อพิษต่าง ๆ อาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพต่าง ๆ ในทางกฎหมายได้ถูกห้ามใช้ในสงคราม ตามข้อตกลงเจนีวาโปรโตคอลปี ค.ศ. 1925 อย่างไรก็ดี ข้อตกลงฉบับนี้เพียงแต่ห้ามใช้อาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพ แต่มิได้ห้ามผลิตและสะสมไว้ในคลังแสงแต่อย่างใด ในระหว่างทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1980 ได้มีการเจรจากันหลายครั้งที่กรุงเจนีวา โดยชาติต่าง ๆ 40 ชาติในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการลดกำลังรบ เพื่อให้บรรลุถึงการห้ามทุกอย่างเกี่ยวกับอาวุธเคมีทุกชนิด และเมื่อปี ค.ศ. 1972 ก็ได้มีการลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพ ซึ่งห้ามการครอบครองอาวุธชีวภาพและอาวุธเชื้อพิษต่าง ๆ ที่ได้มาจากพิษธรรมชาติมีพิษงู เป็นต้น มีชาติ
ต่าง ๆ เกือบร้อยชาติได้เข้าเป็นภาคีของทั้งข้อตกลงเจนีวาโปรโตคอล และอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพนี้ ทั้งนี้รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตด้วย
ความสำคัญ เมื่อปี ค.ศ. 1987 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีเรแกน โดยความเห็นชอบของสภาคองเกรส ได้เริ่มพัฒนาอาวุธเคมีที่ใช้สารเคมีสองตัวแบบใหม่ขึ้นมา อาวุธที่ใช้สารเคมีสองตัวนี้ ไม่เหมือนกับอาวุธสารเคมีตัวเดียวที่ใช้สารเคมีเพียงตัวเดียวก็สามารถใช้ได้แล้ว แต่อาวุธเคมีชนิดสารสองตัวนี้จะมีสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงสองตัวอยู่ด้วยกัน ที่เมื่อนำมาใช้ในปฏิบัติการทางทหารแล้วจะรวมตัวกันเป็นสื่อนำที่มีอานุภาพร้ายแรงมาก ด้วยเหตุนี้ อาวุธเคมีชนิดที่มีสารเคมีสองตัวนี้ จึงมีเสถียรภาพและมีความปลอดภัยมากกว่าชนิดที่มีสารตัวเดียวเมื่อเวลาเก็บไว้ในคลังแสง และในขณะเดียวกันก็จะยังคงสภาพเป็นอาวุธที่ทรงอานุภาพในความเป็นมหาประลัยอยู่เสมอ สภาคองเกรสได้ให้อำนาจในการผลิตกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155 มม.บรรจุสารเคมี 2 ตัว และอาวุธเคมีอย่างอื่น ๆ ถึงจำนวนหนึ่งล้านนัด โดยให้เริ่มผลิตได้ในปี ค.ศ. 1987 อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะได้มีการสะสมอาวุธเคมีกันใหม่อีกระลอกหนึ่งหลังจากที่ได้ว่างเว้นมาเป็นเวลา 20 ปีแล้วก็ตาม แต่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการลดกำลังรบ ก็ได้เสนอร่างสนธิสัญญาที่ตกลงกันได้ในหลายเรื่อง ส่วนเรื่องที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ก็คือ วิธีการตรวจสอบและการบังคับใช้ในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น
อาวุธมหาประลัย ที่ใช้สื่อนำที่เป็นพิษ หรือเชื้อพิษต่าง ๆ อาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพต่าง ๆ ในทางกฎหมายได้ถูกห้ามใช้ในสงคราม ตามข้อตกลงเจนีวาโปรโตคอลปี ค.ศ. 1925 อย่างไรก็ดี ข้อตกลงฉบับนี้เพียงแต่ห้ามใช้อาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพ แต่มิได้ห้ามผลิตและสะสมไว้ในคลังแสงแต่อย่างใด ในระหว่างทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1980 ได้มีการเจรจากันหลายครั้งที่กรุงเจนีวา โดยชาติต่าง ๆ 40 ชาติในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการลดกำลังรบ เพื่อให้บรรลุถึงการห้ามทุกอย่างเกี่ยวกับอาวุธเคมีทุกชนิด และเมื่อปี ค.ศ. 1972 ก็ได้มีการลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพ ซึ่งห้ามการครอบครองอาวุธชีวภาพและอาวุธเชื้อพิษต่าง ๆ ที่ได้มาจากพิษธรรมชาติมีพิษงู เป็นต้น มีชาติ
ต่าง ๆ เกือบร้อยชาติได้เข้าเป็นภาคีของทั้งข้อตกลงเจนีวาโปรโตคอล และอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพนี้ ทั้งนี้รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตด้วย
ความสำคัญ เมื่อปี ค.ศ. 1987 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีเรแกน โดยความเห็นชอบของสภาคองเกรส ได้เริ่มพัฒนาอาวุธเคมีที่ใช้สารเคมีสองตัวแบบใหม่ขึ้นมา อาวุธที่ใช้สารเคมีสองตัวนี้ ไม่เหมือนกับอาวุธสารเคมีตัวเดียวที่ใช้สารเคมีเพียงตัวเดียวก็สามารถใช้ได้แล้ว แต่อาวุธเคมีชนิดสารสองตัวนี้จะมีสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงสองตัวอยู่ด้วยกัน ที่เมื่อนำมาใช้ในปฏิบัติการทางทหารแล้วจะรวมตัวกันเป็นสื่อนำที่มีอานุภาพร้ายแรงมาก ด้วยเหตุนี้ อาวุธเคมีชนิดที่มีสารเคมีสองตัวนี้ จึงมีเสถียรภาพและมีความปลอดภัยมากกว่าชนิดที่มีสารตัวเดียวเมื่อเวลาเก็บไว้ในคลังแสง และในขณะเดียวกันก็จะยังคงสภาพเป็นอาวุธที่ทรงอานุภาพในความเป็นมหาประลัยอยู่เสมอ สภาคองเกรสได้ให้อำนาจในการผลิตกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155 มม.บรรจุสารเคมี 2 ตัว และอาวุธเคมีอย่างอื่น ๆ ถึงจำนวนหนึ่งล้านนัด โดยให้เริ่มผลิตได้ในปี ค.ศ. 1987 อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะได้มีการสะสมอาวุธเคมีกันใหม่อีกระลอกหนึ่งหลังจากที่ได้ว่างเว้นมาเป็นเวลา 20 ปีแล้วก็ตาม แต่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการลดกำลังรบ ก็ได้เสนอร่างสนธิสัญญาที่ตกลงกันได้ในหลายเรื่อง ส่วนเรื่องที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ก็คือ วิธีการตรวจสอบและการบังคับใช้ในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น
Arms Control : Hague Peace Conferences (1899 and 1907)
การควบคุมอาวุธ : การประชุมสันติภาพกรุงเฮก (ค.ศ. 1899 และ ค.ศ. 1907)
การประชุมระหว่างประเทศครั้งพิเศษ ที่ได้จัดขึ้นโดยการริเริ่มของพระเจ้าซาร์ นิโคลัส แห่งรัสเซีย เพื่อให้มีการตกลงกันเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธ และเกี่ยวกับมาตรการอื่น ๆ ที่จะนำมาใช้เพื่อธำรงสันติภาพ และทำให้สงครามมีมนุษยธรรมมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอของฝ่ายรัสเซียในที่ประชุมกรุงเฮกในครั้งแรกซึ่งได้เรียกร้องให้ประเทศที่เข้าร่วมประชุมทั้งปวงตกลงที่จะจำกัดอาวุธของตนให้อยู่ในระดับเดิมไม่มีชาติใดให้การสนับสนุน อย่างไรก็ดี มติที่มีข้อความคลุมเครือที่เรียกร้องให้ทุกรัฐพิจารณาจำกัดงบประมาณในการสงครามเพื่อ “สวัสดิภาพของมวลมนุษย์” ได้รับการยอมรับเป็นเอกฉันท์ ส่วนในการประชุมกรุงเฮกครั้งที่สองนั้น ความพยายามของฝ่ายอังกฤษที่จะให้มีการตกลงกันในเรื่องจำกัดอาวุธไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนของเยอรมันได้ข่มขู่ว่าจะคัดค้านข้อเสนอการควบคุมอาวุธทุกอย่างที่มีการเสนอขึ้นมา
ความสำคัญ การประชุมสันติภาพที่กรุงเฮกทั้งสองครั้งนี้ มิได้สร้างมาตรการควบคุมอาวุธใด ๆ ที่ดูเข้มงวดจริงจัง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญในด้านการลดกำลังรบ ทั้งนี้เพราะการประชุมที่กรุงเฮกทั้งสองครั้งนี้ นับว่าเป็นความพยายามครั้งแรกของประชาคมระหว่างประเทศ ที่จะให้มีการจำกัดอาวุธโดยให้มีข้อตกลงระดับระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี การประชุมกันนี้สามารถบรรลุข้อตกลงที่สำคัญในด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง คือ ได้มีการจัดตั้งศาลอนุญาโตตุลาการประจำ และมีการจัดทำประมวลกฎหมายว่าด้วยสงครามและความเป็นกลางขึ้นมา ความพยายามที่ไม่ประสบความสำเร็จของการประชุมกที่รุงเฮก เพื่อหาทางยุติการแข่งขันอาวุธครั้งนี้ทำให้เกิดผลตามมาด้วยหายนภัยของสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมและสงครามที่เกิดขึ้นช่วยให้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น โดยพยายามดำเนินการอย่างเป็นทางการให้มีเจรจาเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายการควบคุมอาวุธและการลดกำลังรบในระหว่างทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1920 กับทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1930 ภายใต้ระบบของสันนิบาตชาติ
การประชุมระหว่างประเทศครั้งพิเศษ ที่ได้จัดขึ้นโดยการริเริ่มของพระเจ้าซาร์ นิโคลัส แห่งรัสเซีย เพื่อให้มีการตกลงกันเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธ และเกี่ยวกับมาตรการอื่น ๆ ที่จะนำมาใช้เพื่อธำรงสันติภาพ และทำให้สงครามมีมนุษยธรรมมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอของฝ่ายรัสเซียในที่ประชุมกรุงเฮกในครั้งแรกซึ่งได้เรียกร้องให้ประเทศที่เข้าร่วมประชุมทั้งปวงตกลงที่จะจำกัดอาวุธของตนให้อยู่ในระดับเดิมไม่มีชาติใดให้การสนับสนุน อย่างไรก็ดี มติที่มีข้อความคลุมเครือที่เรียกร้องให้ทุกรัฐพิจารณาจำกัดงบประมาณในการสงครามเพื่อ “สวัสดิภาพของมวลมนุษย์” ได้รับการยอมรับเป็นเอกฉันท์ ส่วนในการประชุมกรุงเฮกครั้งที่สองนั้น ความพยายามของฝ่ายอังกฤษที่จะให้มีการตกลงกันในเรื่องจำกัดอาวุธไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนของเยอรมันได้ข่มขู่ว่าจะคัดค้านข้อเสนอการควบคุมอาวุธทุกอย่างที่มีการเสนอขึ้นมา
ความสำคัญ การประชุมสันติภาพที่กรุงเฮกทั้งสองครั้งนี้ มิได้สร้างมาตรการควบคุมอาวุธใด ๆ ที่ดูเข้มงวดจริงจัง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญในด้านการลดกำลังรบ ทั้งนี้เพราะการประชุมที่กรุงเฮกทั้งสองครั้งนี้ นับว่าเป็นความพยายามครั้งแรกของประชาคมระหว่างประเทศ ที่จะให้มีการจำกัดอาวุธโดยให้มีข้อตกลงระดับระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี การประชุมกันนี้สามารถบรรลุข้อตกลงที่สำคัญในด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง คือ ได้มีการจัดตั้งศาลอนุญาโตตุลาการประจำ และมีการจัดทำประมวลกฎหมายว่าด้วยสงครามและความเป็นกลางขึ้นมา ความพยายามที่ไม่ประสบความสำเร็จของการประชุมกที่รุงเฮก เพื่อหาทางยุติการแข่งขันอาวุธครั้งนี้ทำให้เกิดผลตามมาด้วยหายนภัยของสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมและสงครามที่เกิดขึ้นช่วยให้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น โดยพยายามดำเนินการอย่างเป็นทางการให้มีเจรจาเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายการควบคุมอาวุธและการลดกำลังรบในระหว่างทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1920 กับทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1930 ภายใต้ระบบของสันนิบาตชาติ
Arms Control : Helsinki Accord
การควบคุมอาวุธ : ข้อตกลงกรุงเฮลซิงกิ
ข้อตกลงทางการทูตที่สำคัญ ลงนามกันที่กรุงเฮลซิงกิเมื่อปี ค.ศ. 1975 หลังเสร็จสิ้นการประชุมว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือกันในยุโรป (ซีเอสซีอี) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในยุโรประหว่างฝ่ายตะวันตกกับฝ่ายตะวันออก ข้อตกลงนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กรรมสารสุดท้ายกรุงเฮลซิงกิ” เป็นข้อตกลงที่ได้ลงนามโดยผู้เข้าร่วมประชุมจาก 35 ชาติ ที่เป็นชาติในกลุ่มสนธิสัญญานาโต ที่เป็นชาติในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอว์ ส่วนอีก 13 ชาตินั้นเป็นชาติเป็นกลางและชาติไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในยุโรป ข้อตกลงเฮลซิงกินี้ แยกออกเป็น 4 หมวด หรือ “บาสเกต” โดยที่หมวดหรือบาสเกตที่ 1 กล่าวถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในทวีปยุโรป ซึ่งรวมถึงหลักการขั้นพื้นฐานสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและปัญหาของความมั่นคงโดยเฉพาะ ซึ่งก็รวมทั้งการหามาตรการสร้างความมั่นใจขึ้นมาให้ได้ หมวดหรือบาสเกตที่ 2 กำหนดในเรื่องความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี และด้านสภาพแวดล้อม ส่วนบาสเกตที่ 3 ว่าด้วยความร่วมมือในการส่งเสริมความพยายามในด้านมนุษยธรรม ซึ่งรวมถึงสิทธิมนุษยชน วัฒนธรรม การศึกษา และความมีอิสระในการเคลื่อนย้ายประชาชน แนวความคิดและข่าวสารไปได้ทั่วทวีปยุโรป สำหรับบาสเกตที่ 4 ว่าด้วยการจัดให้มีการประชุมพิจารณาทบทวน โดยได้เรียกร้องให้รัฐผู้เข้าร่วมประชุม “ได้สืบสานกระบวนการพหุภาคีที่ได้ริเริ่มโดยที่ประชุมนี้ต่อไป” การประชุมเพื่อพิจารณาทบทวนในเรื่องนี้ที่สำคัญได้จัดขึ้นที่กรุงเบลเกรด (ค.ศ. 1977) ที่กรุงมาดริด (ค.ศ. 1980) และที่กรุงเวียนนา (ค.ศ. 1987)
ความสำคัญ ข้อตกลงกรุงเฮลซิงกินี้ เป็นความพยายามสำคัญที่จะลดความเป็นศัตรูกันระหว่างฝ่ายตะวันออกกับฝ่ายตะวันตก โดยให้ชาติต่าง ๆ ในทวีปยุโรปทุกชาติรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ได้ยอมรับสถานภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปยุโรปตลอดจนได้หันมาให้การสนับสนุนโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับความร่วมมือและความเข้าใจกันระหว่างทุกชาติในยุโรป ถึงแม้ว่าข้อตกลงกรุงเฮลซิงกินี้จะเป็นเพียงข้อตกลงทางการทูต มิใช่สนธิสัญญาและไม่มีผลผูกพันเป็นกฏหมายระหว่างประเทศก็จริง แต่ก็เป็นข้อตกลงที่ได้สร้างความคาดหวังบางอย่างเกี่ยวกับความประพฤติของรัฐต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุม และได้มีการกำหนดให้มีการประชุมพิจารณาทบทวนเป็นระยะ ๆ ในเรื่องที่ได้คาดหวังเอาไว้แล้วเหล่านี้ มีผลดีบางอย่างได้เกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการลงนามในกรรมสารสุดท้ายกรุงเฮลซิงกิฉบับนี้ ยกตัวอย่างเช่น ทางการโซเวียตได้อนุญาตให้ชาวยิวอพยพไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ได้ภายหลังจากมีข้อตกลงเฮลซิงกินี้แล้ว ส่วนสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันก็ได้ประกาศนิรโทษกรรมและปล่อยนักโทษทางการเมืองหลายราย สำหรับในด้านการให้ความคุ้มครองสภาพแวดล้อมนั้น รัฐต่าง ๆ ในทวีปยุโรปที่ได้เข้าร่วมลงนามในข้อตกลงเฮลซิงกินี้ ก็ได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ อย่างไรก็ดี ได้มีการกระทำหลายอย่างที่บ่งบอกว่าเป็นการปฏิเสธหลักการต่าง ๆ ของข้อตกลงกรุงเฮลซิงกินี้เหมือนกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสหภาพโซเวียตส่งกำลังทหารรุกรานอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 สัมพันธภาพระหว่างตะวันออกกับตะวันตกก็ได้เสื่อมทรามลง
ข้อตกลงทางการทูตที่สำคัญ ลงนามกันที่กรุงเฮลซิงกิเมื่อปี ค.ศ. 1975 หลังเสร็จสิ้นการประชุมว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือกันในยุโรป (ซีเอสซีอี) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในยุโรประหว่างฝ่ายตะวันตกกับฝ่ายตะวันออก ข้อตกลงนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กรรมสารสุดท้ายกรุงเฮลซิงกิ” เป็นข้อตกลงที่ได้ลงนามโดยผู้เข้าร่วมประชุมจาก 35 ชาติ ที่เป็นชาติในกลุ่มสนธิสัญญานาโต ที่เป็นชาติในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอว์ ส่วนอีก 13 ชาตินั้นเป็นชาติเป็นกลางและชาติไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในยุโรป ข้อตกลงเฮลซิงกินี้ แยกออกเป็น 4 หมวด หรือ “บาสเกต” โดยที่หมวดหรือบาสเกตที่ 1 กล่าวถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในทวีปยุโรป ซึ่งรวมถึงหลักการขั้นพื้นฐานสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและปัญหาของความมั่นคงโดยเฉพาะ ซึ่งก็รวมทั้งการหามาตรการสร้างความมั่นใจขึ้นมาให้ได้ หมวดหรือบาสเกตที่ 2 กำหนดในเรื่องความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี และด้านสภาพแวดล้อม ส่วนบาสเกตที่ 3 ว่าด้วยความร่วมมือในการส่งเสริมความพยายามในด้านมนุษยธรรม ซึ่งรวมถึงสิทธิมนุษยชน วัฒนธรรม การศึกษา และความมีอิสระในการเคลื่อนย้ายประชาชน แนวความคิดและข่าวสารไปได้ทั่วทวีปยุโรป สำหรับบาสเกตที่ 4 ว่าด้วยการจัดให้มีการประชุมพิจารณาทบทวน โดยได้เรียกร้องให้รัฐผู้เข้าร่วมประชุม “ได้สืบสานกระบวนการพหุภาคีที่ได้ริเริ่มโดยที่ประชุมนี้ต่อไป” การประชุมเพื่อพิจารณาทบทวนในเรื่องนี้ที่สำคัญได้จัดขึ้นที่กรุงเบลเกรด (ค.ศ. 1977) ที่กรุงมาดริด (ค.ศ. 1980) และที่กรุงเวียนนา (ค.ศ. 1987)
ความสำคัญ ข้อตกลงกรุงเฮลซิงกินี้ เป็นความพยายามสำคัญที่จะลดความเป็นศัตรูกันระหว่างฝ่ายตะวันออกกับฝ่ายตะวันตก โดยให้ชาติต่าง ๆ ในทวีปยุโรปทุกชาติรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ได้ยอมรับสถานภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปยุโรปตลอดจนได้หันมาให้การสนับสนุนโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับความร่วมมือและความเข้าใจกันระหว่างทุกชาติในยุโรป ถึงแม้ว่าข้อตกลงกรุงเฮลซิงกินี้จะเป็นเพียงข้อตกลงทางการทูต มิใช่สนธิสัญญาและไม่มีผลผูกพันเป็นกฏหมายระหว่างประเทศก็จริง แต่ก็เป็นข้อตกลงที่ได้สร้างความคาดหวังบางอย่างเกี่ยวกับความประพฤติของรัฐต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุม และได้มีการกำหนดให้มีการประชุมพิจารณาทบทวนเป็นระยะ ๆ ในเรื่องที่ได้คาดหวังเอาไว้แล้วเหล่านี้ มีผลดีบางอย่างได้เกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการลงนามในกรรมสารสุดท้ายกรุงเฮลซิงกิฉบับนี้ ยกตัวอย่างเช่น ทางการโซเวียตได้อนุญาตให้ชาวยิวอพยพไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ได้ภายหลังจากมีข้อตกลงเฮลซิงกินี้แล้ว ส่วนสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันก็ได้ประกาศนิรโทษกรรมและปล่อยนักโทษทางการเมืองหลายราย สำหรับในด้านการให้ความคุ้มครองสภาพแวดล้อมนั้น รัฐต่าง ๆ ในทวีปยุโรปที่ได้เข้าร่วมลงนามในข้อตกลงเฮลซิงกินี้ ก็ได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ อย่างไรก็ดี ได้มีการกระทำหลายอย่างที่บ่งบอกว่าเป็นการปฏิเสธหลักการต่าง ๆ ของข้อตกลงกรุงเฮลซิงกินี้เหมือนกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสหภาพโซเวียตส่งกำลังทหารรุกรานอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 สัมพันธภาพระหว่างตะวันออกกับตะวันตกก็ได้เสื่อมทรามลง
Arms Control : “Hot Line” Agreement
การควบคุมอาวุธ : ข้อตกลง “ฮอตไลน์”
บันทึกความเข้าใจระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตที่ลงนามกันที่กรุงเจนีวาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1963 ซึ่งเป็นผลให้มีการติดตั้งสายเชื่อมโยงติดต่อทางไกลอย่างเป็นทางการระหว่างกรุงวอชิงตันกับกรุงมอสโก เพื่อจะได้ให้ประมุขรัฐบาลของสองประเทศนี้สามารถติดต่อกันได้โดยตรงในระหว่างที่เกิดวิกฤตการณ์ การติดต่อทางสายเคเบิลทางไกลในทำนองเดียวกันนี้ ก็ได้มีการจัดตั้งขึ้นมาระหว่างกรุงมอสโกกับกรุงปารีสเมื่อปี ค.ศ. 1966 และระหว่างกรุงลอนดอนกับกรุงมอสโกเมื่อปี ค.ศ. 1967 ข้อตกลง “ฮอตไลน์” นี้ได้พัฒนามาจากความกลัวว่าจะมีการใช้สงครามนิวเคลียร์ยิงตอบโต้กัน เพราะผลของการเข้าใจผิด การคำนวณผิดพลาด เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดความผิดพลาดในการสื่อสารกัน
ความสำคัญ วิกฤตการณ์อาวุธปล่อยที่คิวบาเมื่อปี ค.ศ. 1962 ได้กระตุ้นให้ผู้นำของสหรัฐอเมริกาและของสหภาพโซเวียด เกิดตระหนักถึงภยันตรายร้ายแรงของการใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีผลเพราะผลจากเกิดการล้มเหลวในการติดต่อกัน ซึ่งตอนนั้นประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ต้องใช้เครื่องอำนวยความสะดวกทางการพาณิชย์ติดต่อกับนายกรัฐมนตรี นิคิตา ครุชชอฟ แห่งสหภาพโซเวียต ข้อตกลงเรื่อง “ฮอตไลน์” นี้เป็นตัวไปช่วยเสริมช่องทางการติดต่อทางการทูตที่มีลักษณะเชื่องช้าอุ้ยอ้าย และการติดต่อด้วยทาง “ฮอตไลน์” นี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดวิกฤติมาก ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามระหว่างอาหรับกับอิสราเอลเมื่อปี ค.ศ. 1967 ได้มีการใช้เคเบิลทางไกลติดต่อส่งข่าวสารถึงกันมากกว่า 20 ชิ้น ระหว่างผู้นำสหรัฐกับผู้นำสหภาพโซเวียต ทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถบอกกันและกันได้ว่าทั้งสองฝ่ายไม่ต้องการขยายสงครามครั้งนี้ออกไป แนวความคิดให้มีการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารถึงกันได้นี้ เป็นหนึ่งในจำนวนข้อเสนอต่าง ๆ ที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างนำมาอภิปรายกันตลอดเวลาหลายปี เพื่อใช้เป็นหนทางหนึ่งที่จะลดอันตรายจากสงครามนิวเคลียร์ นอกจากนี้แล้ว ก็ได้มีการเสนอข้อเสนออื่น ๆ อย่างเช่น ให้มีการติดตั้งสถานีตรวจสอบภาคพื้นดิน ให้มีการแจ้งข่าวล่วงหน้าเมื่อจะมีการเคลื่อนย้ายทางการทหารที่สำคัญ ๆ และให้มีการตรวจสอบทางอากาศถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการทหารของกันและกัน เป็นต้น แต่ข้อเสนอเหล่านี้ได้ถูกปฏิเสธจากฝ่ายสหภาพโซเวียตหรือไม่ก็จากฝ่ายสหรัฐอเมริกาว่ามันจะเป็นเครื่องมือในการจารกรรม หรือเป็นความพยายามที่จะชิงความได้เปรียบในการแข่งขันทางด้านอาวุธของแต่ละฝ่าย อย่างไรก็ดี เมื่อปี ค.ศ. 1987 ได้มีข้อตกลงระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตให้มีการแก้ไขปรับปรุงข้อตกลงในเรื่องฮอตไลน์นี้ให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งเป็นความพยายามในอีกขั้นหนึ่งที่จะป้องกันมิให้เกิดหายนภัยนิวเคลียร์โดยอุบัติเหตุระหว่างกัน ข้อตกลงใหม่นี้ได้กำหนดให้มีการเปิด “ศูนย์ลดความเสี่ยงนิวเคลียร์” ในทั้งสองประเทศ ให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารเกี่ยวกับอุบัติเหตุนิวเคลียร์ระหว่างกัน และให้ปฏิบัติการร่วมกันเพื่อป้องกันการโจรกรรมอาวุธนิวเคลียร์
บันทึกความเข้าใจระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตที่ลงนามกันที่กรุงเจนีวาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1963 ซึ่งเป็นผลให้มีการติดตั้งสายเชื่อมโยงติดต่อทางไกลอย่างเป็นทางการระหว่างกรุงวอชิงตันกับกรุงมอสโก เพื่อจะได้ให้ประมุขรัฐบาลของสองประเทศนี้สามารถติดต่อกันได้โดยตรงในระหว่างที่เกิดวิกฤตการณ์ การติดต่อทางสายเคเบิลทางไกลในทำนองเดียวกันนี้ ก็ได้มีการจัดตั้งขึ้นมาระหว่างกรุงมอสโกกับกรุงปารีสเมื่อปี ค.ศ. 1966 และระหว่างกรุงลอนดอนกับกรุงมอสโกเมื่อปี ค.ศ. 1967 ข้อตกลง “ฮอตไลน์” นี้ได้พัฒนามาจากความกลัวว่าจะมีการใช้สงครามนิวเคลียร์ยิงตอบโต้กัน เพราะผลของการเข้าใจผิด การคำนวณผิดพลาด เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดความผิดพลาดในการสื่อสารกัน
ความสำคัญ วิกฤตการณ์อาวุธปล่อยที่คิวบาเมื่อปี ค.ศ. 1962 ได้กระตุ้นให้ผู้นำของสหรัฐอเมริกาและของสหภาพโซเวียด เกิดตระหนักถึงภยันตรายร้ายแรงของการใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีผลเพราะผลจากเกิดการล้มเหลวในการติดต่อกัน ซึ่งตอนนั้นประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ต้องใช้เครื่องอำนวยความสะดวกทางการพาณิชย์ติดต่อกับนายกรัฐมนตรี นิคิตา ครุชชอฟ แห่งสหภาพโซเวียต ข้อตกลงเรื่อง “ฮอตไลน์” นี้เป็นตัวไปช่วยเสริมช่องทางการติดต่อทางการทูตที่มีลักษณะเชื่องช้าอุ้ยอ้าย และการติดต่อด้วยทาง “ฮอตไลน์” นี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดวิกฤติมาก ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามระหว่างอาหรับกับอิสราเอลเมื่อปี ค.ศ. 1967 ได้มีการใช้เคเบิลทางไกลติดต่อส่งข่าวสารถึงกันมากกว่า 20 ชิ้น ระหว่างผู้นำสหรัฐกับผู้นำสหภาพโซเวียต ทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถบอกกันและกันได้ว่าทั้งสองฝ่ายไม่ต้องการขยายสงครามครั้งนี้ออกไป แนวความคิดให้มีการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารถึงกันได้นี้ เป็นหนึ่งในจำนวนข้อเสนอต่าง ๆ ที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างนำมาอภิปรายกันตลอดเวลาหลายปี เพื่อใช้เป็นหนทางหนึ่งที่จะลดอันตรายจากสงครามนิวเคลียร์ นอกจากนี้แล้ว ก็ได้มีการเสนอข้อเสนออื่น ๆ อย่างเช่น ให้มีการติดตั้งสถานีตรวจสอบภาคพื้นดิน ให้มีการแจ้งข่าวล่วงหน้าเมื่อจะมีการเคลื่อนย้ายทางการทหารที่สำคัญ ๆ และให้มีการตรวจสอบทางอากาศถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการทหารของกันและกัน เป็นต้น แต่ข้อเสนอเหล่านี้ได้ถูกปฏิเสธจากฝ่ายสหภาพโซเวียตหรือไม่ก็จากฝ่ายสหรัฐอเมริกาว่ามันจะเป็นเครื่องมือในการจารกรรม หรือเป็นความพยายามที่จะชิงความได้เปรียบในการแข่งขันทางด้านอาวุธของแต่ละฝ่าย อย่างไรก็ดี เมื่อปี ค.ศ. 1987 ได้มีข้อตกลงระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตให้มีการแก้ไขปรับปรุงข้อตกลงในเรื่องฮอตไลน์นี้ให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งเป็นความพยายามในอีกขั้นหนึ่งที่จะป้องกันมิให้เกิดหายนภัยนิวเคลียร์โดยอุบัติเหตุระหว่างกัน ข้อตกลงใหม่นี้ได้กำหนดให้มีการเปิด “ศูนย์ลดความเสี่ยงนิวเคลียร์” ในทั้งสองประเทศ ให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารเกี่ยวกับอุบัติเหตุนิวเคลียร์ระหว่างกัน และให้ปฏิบัติการร่วมกันเพื่อป้องกันการโจรกรรมอาวุธนิวเคลียร์
Arms Control : Non-Proliferation Treaty (NPT)
การควบคุมอาวุธ : สนธิสัญญาห้ามการแพร่กระจายนิวเคลียร์ (เอ็นพีที)
ข้อตกลงระหว่างประเทศห้ามการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์เข้าไปในหมู่รัฐต่าง ๆ ที่ยังไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์นี้ ได้นำมาตอกย้ำในช่วงสี่ปีที่มีการเจรจากันในคณะกรรมาธิการว่าด้วยการลดกำลังรบ 18 ชาติ (ดีเอนดีซี) และในคณะกรรมาธิการการเมืองและความมั่นคงของสมัชชาใหญ่ ซึ่งก็เป็นเหตุนำไปสู่การยอมรับร่างสนธิสัญญาโดยสมัชชาใหญ่เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1968 ภายใต้ข้อกำหนดของสนธิสัญญาฉบับนี้ ได้ให้รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์แต่ละรัฐยินยอม “ที่จะไม่ถ่ายโอน... ช่วยเหลือ สนับสนุน หรือชี้นำให้รัฐที่ยังไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ใด ๆ ทำการผลิต หรือดำเนินการจัดหาอาวุธนิวเคลียร์” และให้รัฐที่ยังไม่มีอาวุธนิวเคลียร์แต่ละรัฐยินยอม “ที่จะไม่รับ ... ไม่ผลิต หรือไม่ดำเนินการจัดหาอาวุธนิวเคลียร์” สนธิสัญญาซึ่งมีบทบัญญัติรวม 11 มาตรานี้ มีผลบังคับใช้หลังจากที่ได้มีการให้สัตยาบันโดยสามมหาอำนาจนิวเคลียร์ (คือ บริเตนใหญ่ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา) และโดยชาติที่ยังไม่มีอาวุธนิวเคลียร์อีก 40 ชาติ ในปัจจุบันชาติต่าง ๆ เกือบจะทุกชาติได้ร่วมลงนามในสัญญาฉบับนี้แล้ว และได้ยอมรับบทบัญญัติให้มีการจำกัดเสรีภาพในการกระทำของตนในด้านอาวุธนิวเคลียร์ แต่เพื่อป้องกันมิให้มีการคุกคามด้วยการใช้วิธี “แบล็คเมล์ทางนิวเคลียร์” ในอนาคต มหาอำนาจที่มีนิวเคลียร์ทั้งสามชาติได้เสนอแนะให้คณะมนตรีความมั่นคงปฏิบัติการ “ ให้ความช่วยเหลืออย่างรีบด่วน โดยสอดคล้องกับกฎบัตร แก่รัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ใด ๆ ซึ่งตกเป็นเหยื่อของการกระทำ หรือตกเป็นเป้าของการข่มขู่คุกคามโดยการใช้อาวุธนิวเคลียร์”
ความสำคัญ สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์นี้ ถือได้ว่าสามารถนำไปสู่ความพยายามที่จะควบคุมการคุกคามกันด้วยอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ ที่การเจรจาในสนธิสัญญาฉบับนี้เกิดการยืดเยื้อนั้น เป็นผลมาจากความขัดแย้งภายในนาโตในเรื่องที่ฝ่ายตะวันตกพยายามจะจัดตั้งกองเรือติดอาวุธปล่อยโพลาริส โดยอิงข้อเสนอให้มีการจัดตั้งกองกำลังพหุภาคี (เอ็มแอลเอฟ) ซึ่งทางฝ่ายสหภาพโซเวียตก็มีจุดยืนว่า หากมีการจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นมา ก็ถือได้ว่าเป็นการแพร่หลายนิวเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสหภาพโซเวียตกลัวว่าเยอรมนีจะมีขีดความสามารถทางนิวเคลียร์ขึ้นมานั่นเอง การแตกแยกกันในกลุ่มประเทศนาโตนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องยกเลิกโครงการเอ็มแอลเอฟ ซึ่งก็ส่งผลต่อมาให้การเจรจากับสหภาพโซเวียตนำไปสู่การตกลงในสนธิสัญญาฉบับนี้ได้สำเร็จ จุดมุ่งหมายสำคัญ ๆ ของสนธิสัญญานี้ก็คือ (1) เพื่อลดการคุกคามด้วยสงครามนิวเคลียร์ (2) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการคืบหน้าในการหาทางลดกำลังรบนิวเคลียร์ และ (3) เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติในทุกรัฐ จุดมุ่งหมายขั้นพื้นฐานของสนธิสัญญา คือ ที่ต้องการคงสถานภาพเดิมเอาไว้ กล่าวคือ ในสโมสรนิวเคลียร์ที่เคยมีสมาชิกที่มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ 5 ชาติก็ขอให้คงจำนวนนี้ไว้ต่อไป ซึ่งก็อาจจะมองไปว่า เป็นจุดมุ่งหมายที่เลือกปฏิบัติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของทุกรัฐนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะว่า เมื่อมีการเพิ่มสมาชิกในสมาคมนิวเคลียร์เข้ามาในแต่ละครั้งนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มอันตรายของสงครามนิวเคลียร์ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องมาจากอุบัติเหตุ การคำนวณผิดพลาด หรือการขยายสงคราม แต่ในปัจจุบันนี้เรากำลังเผชิญกับปัญหาที่เกี่ยวกับจำนวนของชาติที่มีศักยภาพเข้ามาเป็นสมาชิกในสโมสรนิวเคลียร์นี้ ซึ่งคิดประเมินคร่าว ๆ แล้วมีจำนวนไม่น้อยกว่า 20 ชาติ ซึ่งชาติต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะมีฐานทางวิทยาศาสตร์ ทางเทคนิค และฐานทางอุตสาหกรรมที่จะสร้างขีดความสามารถทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ได้แล้ว หรือจะมีความสามารถในรื่องนี้ในไม่ช้านี้ เราเรียกปัญหาเรื่องนี้ว่า “ ชาติปริศนา ” อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้มีประเทศต่าง ๆ ที่มีศักยภาพทางอาวุธนิวเคลียร์ในแง่ของเทคโนโลยีและการมีวัตถุแยกนิวเคลียร์แล้ว ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน แอฟริกาใต้ อิสราเอล บราซิล อียิปต์ ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี ส่วนชาติอื่น ๆ อีกหลายขาติก็มีขีดความสามารถตามมาติด ๆ อุปสรรคสำคัญทำให้ระบบการควบคุมทำงานไม่ได้ผล ก็คือ มีรัฐที่ยังไม่มีอาวุธนิวเคลียร์จำนวนหนึ่งไม่ยอมลงนามและให้สัตยาบันสนธิสัญญาฉบับนี้ นอกจากสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามแพร่หลายอาวุธนิวเคลียร์นี้แล้ว ก็ยังได้มีความพยายามที่จะจำกัดการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ที่กระทำในรูปของการเจรจาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และการจัดตั้งเขตหรือทวีปที่ปลอดนิวเคลียร์ขึ้นมา
ข้อตกลงระหว่างประเทศห้ามการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์เข้าไปในหมู่รัฐต่าง ๆ ที่ยังไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์นี้ ได้นำมาตอกย้ำในช่วงสี่ปีที่มีการเจรจากันในคณะกรรมาธิการว่าด้วยการลดกำลังรบ 18 ชาติ (ดีเอนดีซี) และในคณะกรรมาธิการการเมืองและความมั่นคงของสมัชชาใหญ่ ซึ่งก็เป็นเหตุนำไปสู่การยอมรับร่างสนธิสัญญาโดยสมัชชาใหญ่เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1968 ภายใต้ข้อกำหนดของสนธิสัญญาฉบับนี้ ได้ให้รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์แต่ละรัฐยินยอม “ที่จะไม่ถ่ายโอน... ช่วยเหลือ สนับสนุน หรือชี้นำให้รัฐที่ยังไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ใด ๆ ทำการผลิต หรือดำเนินการจัดหาอาวุธนิวเคลียร์” และให้รัฐที่ยังไม่มีอาวุธนิวเคลียร์แต่ละรัฐยินยอม “ที่จะไม่รับ ... ไม่ผลิต หรือไม่ดำเนินการจัดหาอาวุธนิวเคลียร์” สนธิสัญญาซึ่งมีบทบัญญัติรวม 11 มาตรานี้ มีผลบังคับใช้หลังจากที่ได้มีการให้สัตยาบันโดยสามมหาอำนาจนิวเคลียร์ (คือ บริเตนใหญ่ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา) และโดยชาติที่ยังไม่มีอาวุธนิวเคลียร์อีก 40 ชาติ ในปัจจุบันชาติต่าง ๆ เกือบจะทุกชาติได้ร่วมลงนามในสัญญาฉบับนี้แล้ว และได้ยอมรับบทบัญญัติให้มีการจำกัดเสรีภาพในการกระทำของตนในด้านอาวุธนิวเคลียร์ แต่เพื่อป้องกันมิให้มีการคุกคามด้วยการใช้วิธี “แบล็คเมล์ทางนิวเคลียร์” ในอนาคต มหาอำนาจที่มีนิวเคลียร์ทั้งสามชาติได้เสนอแนะให้คณะมนตรีความมั่นคงปฏิบัติการ “ ให้ความช่วยเหลืออย่างรีบด่วน โดยสอดคล้องกับกฎบัตร แก่รัฐที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ใด ๆ ซึ่งตกเป็นเหยื่อของการกระทำ หรือตกเป็นเป้าของการข่มขู่คุกคามโดยการใช้อาวุธนิวเคลียร์”
ความสำคัญ สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์นี้ ถือได้ว่าสามารถนำไปสู่ความพยายามที่จะควบคุมการคุกคามกันด้วยอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ ที่การเจรจาในสนธิสัญญาฉบับนี้เกิดการยืดเยื้อนั้น เป็นผลมาจากความขัดแย้งภายในนาโตในเรื่องที่ฝ่ายตะวันตกพยายามจะจัดตั้งกองเรือติดอาวุธปล่อยโพลาริส โดยอิงข้อเสนอให้มีการจัดตั้งกองกำลังพหุภาคี (เอ็มแอลเอฟ) ซึ่งทางฝ่ายสหภาพโซเวียตก็มีจุดยืนว่า หากมีการจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นมา ก็ถือได้ว่าเป็นการแพร่หลายนิวเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสหภาพโซเวียตกลัวว่าเยอรมนีจะมีขีดความสามารถทางนิวเคลียร์ขึ้นมานั่นเอง การแตกแยกกันในกลุ่มประเทศนาโตนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องยกเลิกโครงการเอ็มแอลเอฟ ซึ่งก็ส่งผลต่อมาให้การเจรจากับสหภาพโซเวียตนำไปสู่การตกลงในสนธิสัญญาฉบับนี้ได้สำเร็จ จุดมุ่งหมายสำคัญ ๆ ของสนธิสัญญานี้ก็คือ (1) เพื่อลดการคุกคามด้วยสงครามนิวเคลียร์ (2) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการคืบหน้าในการหาทางลดกำลังรบนิวเคลียร์ และ (3) เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติในทุกรัฐ จุดมุ่งหมายขั้นพื้นฐานของสนธิสัญญา คือ ที่ต้องการคงสถานภาพเดิมเอาไว้ กล่าวคือ ในสโมสรนิวเคลียร์ที่เคยมีสมาชิกที่มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ 5 ชาติก็ขอให้คงจำนวนนี้ไว้ต่อไป ซึ่งก็อาจจะมองไปว่า เป็นจุดมุ่งหมายที่เลือกปฏิบัติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของทุกรัฐนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะว่า เมื่อมีการเพิ่มสมาชิกในสมาคมนิวเคลียร์เข้ามาในแต่ละครั้งนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มอันตรายของสงครามนิวเคลียร์ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องมาจากอุบัติเหตุ การคำนวณผิดพลาด หรือการขยายสงคราม แต่ในปัจจุบันนี้เรากำลังเผชิญกับปัญหาที่เกี่ยวกับจำนวนของชาติที่มีศักยภาพเข้ามาเป็นสมาชิกในสโมสรนิวเคลียร์นี้ ซึ่งคิดประเมินคร่าว ๆ แล้วมีจำนวนไม่น้อยกว่า 20 ชาติ ซึ่งชาติต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะมีฐานทางวิทยาศาสตร์ ทางเทคนิค และฐานทางอุตสาหกรรมที่จะสร้างขีดความสามารถทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ได้แล้ว หรือจะมีความสามารถในรื่องนี้ในไม่ช้านี้ เราเรียกปัญหาเรื่องนี้ว่า “ ชาติปริศนา ” อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้มีประเทศต่าง ๆ ที่มีศักยภาพทางอาวุธนิวเคลียร์ในแง่ของเทคโนโลยีและการมีวัตถุแยกนิวเคลียร์แล้ว ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน แอฟริกาใต้ อิสราเอล บราซิล อียิปต์ ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี ส่วนชาติอื่น ๆ อีกหลายขาติก็มีขีดความสามารถตามมาติด ๆ อุปสรรคสำคัญทำให้ระบบการควบคุมทำงานไม่ได้ผล ก็คือ มีรัฐที่ยังไม่มีอาวุธนิวเคลียร์จำนวนหนึ่งไม่ยอมลงนามและให้สัตยาบันสนธิสัญญาฉบับนี้ นอกจากสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามแพร่หลายอาวุธนิวเคลียร์นี้แล้ว ก็ยังได้มีความพยายามที่จะจำกัดการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ที่กระทำในรูปของการเจรจาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และการจัดตั้งเขตหรือทวีปที่ปลอดนิวเคลียร์ขึ้นมา
Subscribe to:
Posts (Atom)