Monday, October 19, 2009

Arms Control : Chemical/Biological Weapons (CBW)

การควบคุมอาวุธ : อาวุธเคมี/อาวุธชีวภาพ (ซีบีดับเบิลยู)

อาวุธมหาประลัย ที่ใช้สื่อนำที่เป็นพิษ หรือเชื้อพิษต่าง ๆ อาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพต่าง ๆ ในทางกฎหมายได้ถูกห้ามใช้ในสงคราม ตามข้อตกลงเจนีวาโปรโตคอลปี ค.ศ. 1925 อย่างไรก็ดี ข้อตกลงฉบับนี้เพียงแต่ห้ามใช้อาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพ แต่มิได้ห้ามผลิตและสะสมไว้ในคลังแสงแต่อย่างใด ในระหว่างทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1980 ได้มีการเจรจากันหลายครั้งที่กรุงเจนีวา โดยชาติต่าง ๆ 40 ชาติในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการลดกำลังรบ เพื่อให้บรรลุถึงการห้ามทุกอย่างเกี่ยวกับอาวุธเคมีทุกชนิด และเมื่อปี ค.ศ. 1972 ก็ได้มีการลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพ ซึ่งห้ามการครอบครองอาวุธชีวภาพและอาวุธเชื้อพิษต่าง ๆ ที่ได้มาจากพิษธรรมชาติมีพิษงู เป็นต้น มีชาติ
ต่าง ๆ เกือบร้อยชาติได้เข้าเป็นภาคีของทั้งข้อตกลงเจนีวาโปรโตคอล และอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพนี้ ทั้งนี้รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตด้วย

ความสำคัญ เมื่อปี ค.ศ. 1987 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีเรแกน โดยความเห็นชอบของสภาคองเกรส ได้เริ่มพัฒนาอาวุธเคมีที่ใช้สารเคมีสองตัวแบบใหม่ขึ้นมา อาวุธที่ใช้สารเคมีสองตัวนี้ ไม่เหมือนกับอาวุธสารเคมีตัวเดียวที่ใช้สารเคมีเพียงตัวเดียวก็สามารถใช้ได้แล้ว แต่อาวุธเคมีชนิดสารสองตัวนี้จะมีสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงสองตัวอยู่ด้วยกัน ที่เมื่อนำมาใช้ในปฏิบัติการทางทหารแล้วจะรวมตัวกันเป็นสื่อนำที่มีอานุภาพร้ายแรงมาก ด้วยเหตุนี้ อาวุธเคมีชนิดที่มีสารเคมีสองตัวนี้ จึงมีเสถียรภาพและมีความปลอดภัยมากกว่าชนิดที่มีสารตัวเดียวเมื่อเวลาเก็บไว้ในคลังแสง และในขณะเดียวกันก็จะยังคงสภาพเป็นอาวุธที่ทรงอานุภาพในความเป็นมหาประลัยอยู่เสมอ สภาคองเกรสได้ให้อำนาจในการผลิตกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155 มม.บรรจุสารเคมี 2 ตัว และอาวุธเคมีอย่างอื่น ๆ ถึงจำนวนหนึ่งล้านนัด โดยให้เริ่มผลิตได้ในปี ค.ศ. 1987 อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะได้มีการสะสมอาวุธเคมีกันใหม่อีกระลอกหนึ่งหลังจากที่ได้ว่างเว้นมาเป็นเวลา 20 ปีแล้วก็ตาม แต่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการลดกำลังรบ ก็ได้เสนอร่างสนธิสัญญาที่ตกลงกันได้ในหลายเรื่อง ส่วนเรื่องที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ก็คือ วิธีการตรวจสอบและการบังคับใช้ในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น

No comments:

Post a Comment