Monday, October 19, 2009

Disarmament Strategy : Direct Approach

ยุทธศาสตร์การลดกำลังรบ : แนวทางโดยตรง

ยุทธศาสตร์แสวงหาข้อตกลงการลดกำลังรบ ที่ให้ความสำคัญต่อการเจรจาเพื่อให้มีการลดกำลังรบ มากกว่าที่จะไปพูดในเรื่องปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แนวทางโดยตรงนี้ ผู้ให้การสนับสนุนได้พรรณนาไว้ด้วยหลักการว่า “จะใช้วิธีลดกำลังรบก็ต้องให้ลดกำลังรบ” แนวทางโดยตรงนี้จะแตกต่างจากแนวทางโดยอ้อม ซึ่งวิธีหลังนี้ถือว่า การลดกำลังรบนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นความไม่ลงรอยกันทางการเมืองที่สำคัญ ๆ ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขให้ได้เสียก่อน ก่อนที่การลดกำลังรบจะสามารถเป็นเป้าหมายที่เป็นจริงขึ้นมาได้

ความสำคัญ ผู้ที่ให้การสนับสนุนแนวทางโดยตรงในการลดกำลังรบนี้ มีสมมติฐานว่าการแข่งขันสั่งสมอาวุธในตัวของมันเองเป็นที่มาสำคัญของความไม่มั่นคงระหว่างผู้เข้าร่วมในการเจรจา เพราะฉะนั้น การแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยวิธีจะให้การแข่งขันการสะสมอาวุธมีการควบคุมนั้น ก็จะต้องใช้วิธีหยุดกระแสการแข่งขันอาวุธนั้นเสียเลย และในขณะเดียวกันนั้น ก็จะต้องลดความตึงเครียดระหว่างกันด้วยการให้มีการลดกำลังรบเฉพาะอาวุธชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นการเฉพาะ เมื่อการเคลื่อนไหวสร้างความมั่นใจเหล่านี้ได้รับการตอบสนองด้วยดีพอควรแล้ว การแก้ปัญหาความไม่ลงรอยทางด้านการเมืองก็จะทำได้ง่ายขึ้น เมื่อทำอย่างนี้ได้แล้ว ก็จะสามารถทำข้อตกลงลดกำลังรบทั่วไปและสมบูรณ์ให้เป็นจริงขึ้นมาได้ สหรัฐอเมริกาเป็นชาติหนึ่งที่เคยได้ให้การสนับสนุนแนวทางโดยตรงในการลดกำลังรบในระหว่างที่เกิดสงคราม แต่สหภาพโซเวียตและอินเดียได้พูดให้การสนับสนุนในแนวทางนี้ในสหประชาชาติมากที่สุด

No comments:

Post a Comment