Monday, October 19, 2009

Arms Control : Seabed Treaty

การควบคุมอาวุธ : สนธิสัญญาพื้นท้องทะเล

ข้อตกลงเมื่อปี ค.ศ. 1971 ว่าด้วยการห้ามนำอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธทำลายขนาดใหญ่อื่น ๆ เข้าไปไว้ที่พื้นท้องมหาสมุทรต่าง ๆ ทั่วโลก นอกน่านน้ำอาณาเขต 12 ไมล์ของแต่ละรัฐ สนธิสัญญานี้มีชื่อเป็นทางการว่า สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธทำลายขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่พื้นท้องทะเล ได้รับการเห็นชอบโดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติในการประชุมครั้งที่ 25 เมื่อปี ค.ศ. 1970 และได้เปิดให้มีการลงนามและให้สัตยาบันเมื่อปี ค.ศ. 1971 ชาติต่าง ๆ เกือบทั่วโลกได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญานี้รวมทั้ง 3 ชาติมหาอำนาจนิวเคลียร์ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และบริเตนใหญ่ (อังกฤษ) ซึ่งทั้งสามชาตินี้ได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญานี้ด้วยแล้ว

ความสำคัญ สนธิสัญญาพื้นท้องทะเลนี้ ได้ไปช่วยเสริมสนธิสัญญาต่าง ๆ ฉบับก่อนหน้านี้ ที่มีจุดมุ่งหมายมิให้นำอาวุธนิวเคลียร์เข้าไปในทวีปแอนตาร์กติกา (ค.ศ. 1959) มิให้นำอาวุธนิวเคลียร์เข้าไปในอวกาศรอบนอก (ค.ศ. 1967) และมิให้นำอาวุธนิวเคลียร์เข้าไปในละตินอเมริกา (ค.ศ. 1967) อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาฉบับนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่มิได้ห้ามการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ภายในเขตต่อเนื่อง 12 ไมล์ นอกชายฝั่งของรัฐนั้น ๆ สหรัฐอเมริกาเมื่อได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญพื้นท้องทะเลนี้แล้ว ก็ได้ตกลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่จะยกเลิกอาณาเขตสามไมล์แบบเดิมไปเป็นการให้ความเห็นชอบอาณาเขตสิบสองไมล์ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น สนธิสัญญาฉบับนี้ก็ยังมีจุดอ่อนตรงที่สองรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ คือ ฝรั่งเศส และจีน มิได้เข้าร่วมในกระบวนการสนธิสัญญาหรือว่าลงนามในเอกสารที่สมบูรณ์แบบ นอกจากนั้นแล้ว นักวิพากษ์วิจารณ์ก็ยังได้กล่าวหาว่า สนธิสัญญาฉบับนี้มิได้มีประโยชน์มากมายอะไร เพราะว่าทั้งสองอภิมหาอำนาจมิได้มีความประสงค์จะนำเอาอาวุธทำลายขนาดใหญ่เข้าไปไว้ในที่พื้นท้องทะเลอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ทางฝ่ายผู้ถือหางให้การสนับสนุนได้ชี้แจงว่า สนธิสัญญานี้จะไปช่วยคอยตรวจสอบการแข่งขันทางด้านอาวุธที่พื้นท้องทะเลนั้นก่อนที่เรื่องจะเกิดขึ้นมาจริง ๆ ถึงแม้ว่าสนธิสัญญานี้จะห้ามการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ที่พื้นท้องทะเลของมหาสมุทรทั้งหลาย ทั่วโลก แต่เรือดำน้ำและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ทะเลแต่มิได้ใช้พื้นท้องทะเลก็ยังได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติการได้โดยเสรีภายใต้บท บัญญัติของสนธิสัญญาฉบับนี้

No comments:

Post a Comment